กู้ยืม l จำนอง l ขายฝาก l ฟ้องขับไล่ l มรดก l คำพิพากษาศาลฎีกา l แนะนำสำนักงานทนายความ
 กระดานคำถาม l ทนายบอร์ด l สมุดเยี่ยม l เวบลิ้งค์ l เพิ่มลิ้งค์ l



สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา มี 5 ประเภท คือ

  1. สามัญสมาชิก
  2. สมาชิกวิสามัญ
  3. สมาชิกสบทบ
  4. ภาคีสมาชิก
  5. สมาชิกกิตติมศักดิ์


1. สามัญสมาชิก

คุณสมบัติ

  1. ต้องเป็นผู้ที่สอบไล่สำเร็จวิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม

  2. ต้องเป็นผู้ที่สอบไล่ได้สำเร็จวิชากฎหมายจากคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2476

  3. สอบความรู้ทางนิติศาสตร์ได้ปริญญาตรี เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนหรือในสมัยสอบไล่ พ.ศ. 2495 หรือ

  4. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

หลักฐานในการสมัคร

  1. ใบสมัครตามแบบพิมพ์ของเนติบัณฑิตยสภา กรอกข้อความครบถ้วนด้วยการพิมพ์หรือเขียนด้วยตัวบรรจง พร้อมทั้งมีสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ที่เป็นสามัญสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 2 คน รับรองว่าผู้สมัครเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นบุคคลที่ควรรังเกียจแก่สังคม และประกอบด้วยคุณลักษณะที่จะดำรงเกียรติในการเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

  2. ภาพถ่ายของผู้สมัคร ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ภาพ สวมเสื้อครุยเนติบัณฑิต

  3. สำเนาประกาศนียบัตร หรือสำเนาหนังสือรับรองคุณวุฒิการศึกษาที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติ

  4. ในกรณีที่ไม่ได้ใช้นามสกุลเดียวกับบิดา หรือใช้ชื่อหรือนามสกุลที่ไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา ต้องแนบสำเนาการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลมาด้วย ในกรณีที่ใช้นามสกุลของมารดา ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของมารดามาด้วย

  5. ในกรณีที่เคยรับราชการ ต้องแนบสำเนาหลักฐานคำสั่งเกษีนณอายุราชการ หรือคำสั่งลาออกจากราชการมาด้วย

  6. ในกรณีที่ต้องคำพิพากษา หรือถูกลงโทษทางวินัย ต้องแนบสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งลงโทษ(ข้าราชการ) มาด้วย

  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร

  8. เงินค่าสมัคร 3,000 บาท

  9. สำเนาเอกสารตามข้อ 3 - 5 และข้อ 7 ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงด้วย


2. สมาชิกวิสามัญ

คุณสมบัติ

  ต้องเป็นผู้สอบความรู้ทางนิติศาสตร์ได้ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นจากประเทศไทย ซึ่งเนติบัณฑิตยสภาเห็นว่า มีมาตราฐานการศึกษาเทียบได้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือสอบความรู้ทางนิติศาสตร์ได้ปริญญาตรีที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่า 4 ปี จากสถาบันอุดมศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตราฐานการศึกษา และผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ หรือผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความ ซึ่งมีมาตราฐานให้ผู้ผ่านการอบรม หรือฝึกหัดมีความสามารถเป็นทนายความได้

หลักฐานในการสมัคร

  1. ใบสมัครตามแบบพิมพ์ของเนติบัณฑิตยสภา กรอกข้อความครบถ้วนด้วยการพิมพ์หรือเขียนด้วยตัวบรรจง พร้อมทั้งมีสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ที่เป็นสามัญสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 2 คน รับรองว่าผู้สมัครเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นบุคคลที่ควรรังเกียจแก่สังคม และประกอบด้วยคุณลักษณะที่จะดำรงเกียรติในการเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

  2. ภาพถ่ายของผู้สมัคร ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ภาพ สวมเสื้อครุยวิทยฐานะ หรือสวมสูทสากล หรือสวมชุดไทยพระราชทาน

  3. สำเนาปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองของสภามหาวิทยาลัย ว่าผู้สมัครสำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต

  4. ในกรณีที่ไม่ได้ใช้นามสกุลเดียวกับบิดา หรือใช้ชื่อหรือนามสกุลที่ไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา ต้องแนบสำเนาการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลมาด้วย ในกรณีที่ใช้นามสกุลของมารดา ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของมารดามาด้วย

  5. ในกรณีที่เคยรับราชการ ต้องแนบสำเนาหลักฐานคำสั่งเกษีนณอายุราชการ หรือคำสั่งลาออกจากราชการมาด้วย

  6. ในกรณีที่ต้องคำพิพากษา หรือถูกลงโทษทางวินัย ต้องแนบสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งลงโทษ(ข้าราชการ) มาด้วย

  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร

  8. เงินค่าสมัคร 2,000 บาท

  9. สำเนาเอกสารตามข้อ 3 - 5 และข้อ 7 ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงด้วย


3. สมาชิกสมทบ

คุณสมบัติ

  ต้องเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ หรือผ่านการฝึกหัดงานในสำนักงานทนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความ ซึ่งมีมาตราฐานให้ผู้ผ่านการอบรม หรือฝึกหัดมีความสามารถเป็นทนายความได้

หลักฐานในการสมัคร

  1. ใบสมัครตามแบบพิมพ์ของเนติบัณฑิตยสภา กรอกข้อความครบถ้วนด้วยการพิมพ์หรือเขียนด้วยตัวบรรจง พร้อมทั้งมีสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ที่เป็นสามัญสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 2 คน รับรองว่าผู้สมัครเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นบุคคลที่ควรรังเกียจแก่สังคม และประกอบด้วยคุณลักษณะที่จะดำรงเกียรติในการเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

  2. ภาพถ่ายของผู้สมัคร ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ภาพ สวมเสื้อครุยวิทยฐานะ หรือสวมสูทสากล หรือสวมชุดไทยพระราชทาน

  3. สำเนาปริญญาบัตร อนุปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองของสภามหาวิทยาลัย และประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองจากสภาทนายความ ว่าผู้สมัครเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความ หรือผ่านการฝึกงานในสำนักงานทนายความแล้ว

  4. ในกรณีที่ไม่ได้ใช้นามสกุลเดียวกับบิดา หรือใช้ชื่อหรือนามสกุลที่ไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา ต้องแนบสำเนาการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลมาด้วย ในกรณีที่ใช้นามสกุลของมารดา ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของมารดามาด้วย

  5. ในกรณีที่เคยรับราชการ ต้องแนบสำเนาหลักฐานคำสั่งเกษีนณอายุราชการ หรือคำสั่งลาออกจากราชการมาด้วย

  6. ในกรณีที่ต้องคำพิพากษา หรือถูกลงโทษทางวินัย ต้องแนบสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งลงโทษ(ข้าราชการ) มาด้วย

  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร

  8. เงินค่าสมัคร 1,500 บาท

  9. สำเนาเอกสารตามข้อ 3 - 5 และข้อ 7 ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงด้วย


4. ภาคีสมาชิก

  นักศึกษาในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ถือว่าเป็นภาคีสมาชิก การสมัครเป็นนักศึกษา จึงเป็นไปตามระเบียบของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา


5. สมาชิกกิตติมศักดิ์

  ได้แก่ ผู้ทรงเกียรติคุณและผู้มีความรอบรู้นิติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา ยกย่องและเชิญเป็นสมาชิก



กลับหน้าแรก

ติดต่อผู้จัดทำได้ที่  tanay27@hotmail.com
โฮมเพจนี้เกิดมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2543